เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 64 ผู้สื่ข่าวรายงานว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เตรียมนำเสนอมาตรการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤติ CV-19 ดังนี้ มาตรการที่ 1 เรื่องสินเชื่อสู้ภัย CV-19 ดำเนินการโดย ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท โดยจะให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้าไปขอสินเชื่อได้รายละ 10,000 บาท ระยะเวลาในการกู้ไม่เกิน 3 ปี และปลอดชำระเงินต้น หรือฟรีดอกเบี้ย 6 งว ดแรก อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน
โดยทั้ง 2 ธนาคารจะพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากมากไปหาน้อย ระยะเวลาดำเนินงาน เริ่มตั้งแต่ที่ ครม.มีมติเห็นชอบไปจนถึง 31 ธ.ค.64
มาตรการที่ 2 เป็นเรื่องมาตรการพักชำระหนี้ในสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยมอบหมายให้สถาบันการเงินขยายเวลาการพักชำระหนี้ไปจนถึง 31 ธ.ค.64 โดยเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้าธนาคาร ในเรื่องนี้กระทรวงการคลังได้ประสานกับธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ประสานกับธนาคารพาณิชย์ ในการที่จะร่วมกับกระทรวงการคลัง ในเรื่องของมาตรการพักชำระหนี้ทั้งหมด
มาตรการที่ 3 มาตรการที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ โครงการเราชนะ จะเป็นการขยายเวลาในการที่จะช่วยเหลือประชาชนสำหรับผู้ที่มีสิทธิ์อยู่แล้ว โดยจะต่อไปให้อีกจนถึง มิ.ย. โดยให้เงินเพิ่มอีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท จำนวน 2 สัปดาห์ ซึ่งกระทรวงการคลังจะได้เสนอต่อ ครม.ในสัปดาห์หน้า
มาตรการที่ 4 มาตรการอื่นๆ ที่อยู่ระหว่าดำเนินการ ส่วนของมาตรการทางภาษี ยังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็นลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับปี 64, การขยายกำหนดเวลาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับปี 64, มาตรการในเรื่องการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำหรับที่อยู่อาศัย
รวมถึงการขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ขยายให้ถึงเดือน มิ.ย., การขยายเวลาชำระภาษีเงินได้ของนิติบุคคล ถึงเดือน มิ.ย., การขยายเวลาลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน ซึ่งเป็นการช่วยสายการบินที่ได้รับผลกระทบในช่วง CV-19, ยกเว้นภาษีศุลกากรของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ หรือวินิจฉัยเกี่ยวกับ CV-19
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลัง สั่งธนาคารออมสิน และธนาคาร ธ.ก.ส. เตรียมปล่อยกู้ สินเชื่อสู้ภัย CV-19 รายละ 10,000 บาท ฟรีดอกเบี้ย 6 เดือนแรก ลุ้น ครม.เห็นชอบ