กลายเป็นที่สนใจของลูกศิษย์และคอหวยทั่วประเทศอีกครั้งสำหรับข่าวของ ครูบาบุญชุ่ม หรือ พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรญฺญวาสีภิกขุ ที่มีกำหนดออกจากถ้ำในวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 หลังปิดวาจาครบ 3 ปี 3 เดือน 3 วัน
ครูบาบุญชุ่ม คือใคร ทำไมลูกศิษย์เยอะ
ครูบาบุญชุ่ม มีชื่อเสียงและลูกศิษย์ในหลายประเทศโดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา ชื่อเสียงของ ครูบาบุญชุ่ม เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ในช่วงเหตุการณ์ช่วยชีวิต 13 หมู่ป่า ที่ติดในถ้ำขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย
วันที่ 30 มิถุนายน 2561 ครูบาบุญชุ่มกลับมาทำพิธีอีกครั้งที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ทำพิธีสักการะศาลเจ้าแม่นางนอน ครูบาบุญชุ่มได้อธิษฐานจิตขอให้เด็กได้ออกมาในวันพรุ่งนี้ และเห็นในนิมิตว่าเด็กยังอยู่ ขอให้วิญญาณในถ้ำเปิดประตูถ้ำ ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองด้วยผ่านไป 2 วัน คืนวันที่ 2 ก.ค. 64 เจ้าหน้าที่พบทั้ง 13 ทีมหมูป่าทุกคนปลอดภัย ซึ่งตรงตามที่ครูบาบุญชุ่มลั่นวาจาไว้
บารมี ครูบาบุญชุ่ม เดินทางธุดงค์เรียนกรรมฐานกับครูบาอาจารย์หลายรูปในไทย เมียนมา อินเดีย เนปาล ภูฏาน และหนึ่งในนั้นคือ หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร พระเกจิผู้เห็นนิมิตแม่นยำและระลึกชาติได้ เป็นพระอาจารย์รูปสุดท้ายของครูบาบุญชุ่ม และเป็นผู้ที่ส่งศิษย์รูปนี้ไปบำเพ็ญเพียรที่ภูเขาหิมาลัย ประเทศเนปาล
โดยวันที่ 31 ก.ค. 65 ลูกศิษย์ในหลายประเทศที่มีกว่าล้านคนพร้อมใจจองสถานที่รอครูบาพ่อบุญชุ่มออกถ้ำ ครบ 3 ปี 3 เดือน 3 วัน ทำให้สถานที่ที่ถูกเตรียมไว้มีประชาชนมาจับจองตั้งแต่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา ขอบคุณภาพ พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม
จดหมายของ ครูบาบุญชุ่ม
ครูบาบุญชุ่ม ได้ปวารณาเข้าปฏิบัติธรรมกรรมฐานปิดวาจา ภายในถ้ำเมืองแก๊ต เป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2562 โดยตลอดเวลาที่อยู่ในถ้ำ ครูบาบุญชุ่ม จะไม่ออกมาพบปะกับผู้ใด หากต้องการสิ่งใดจะใช้วิธีเขียนจดหมายมาวางไว้ที่หน้าถ้ำเท่านั้น
เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2565 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดอายุครบ 58 ปีเต็มของครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร ท่านได้เขียนจดหมายถึงศิษยานุศิษย์เป็นภาษาไทใหญ่ มีใจความว่า อีก 6-7 เดือนเองก็จะถึง 3 ปีแล้ว วันเวลาผ่านไปเร็วมากจนน่าเสียดาย อีกปีกว่าก็จะครบ 60 ปีเต็มแล้ว ในวันที่จะออกจากถ้ำ ขอให้มารับเพื่อไปทำพิธีปลงผมที่ริมแม่น้ำสิม จะได้ทำพิธีตั้งธรรมพระสุวรรณโวโหลง จากนั้นจะอยู่ต่ออีก 7 วัน ก่อนเดินทางกลับไปยังเมืองพง ขอเมตตาไว้ ณ ที่นี้ด้วยเทอญ ขอบคุณภาพ พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม
ประวัติ ครูบาบุญชุ่ม ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2508 เวลา 09.00 น. ที่หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนโตของนายคำหล้าและนางแสงหล้า ทาแกง แม้ครอบครัวจะยากจนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่โยมมารดาก็ปลูกฝังท่านให้ทำบุญ สวดมนต์ ทำสมาธิอยู่เสมอ ทำให้ท่านสนใจออกบวช
ครูบาบุญชุ่ม ญาณสัวโร ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2526 ต่อมาได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เวลา 919 น. ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ (ปัจจุบันรวมกับวัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่)) โดยมีพระราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ ธมฺมทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูศรีปริยัตินุรักษ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์
นับแต่ออกบวช ครูบาบุญชุ่มมุ่งเน้นเรียนกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายองค์ ได้จาริกไปหลายท้องที่ทั้งภาคเหนือของไทย พม่า เนปาล อินเดีย ภูฏาน ฯลฯ เมื่อพบเห็นวัดใดทรุดโทรมก็เป็นผู้นำในการบูรณะ และได้สร้างพระธาตุเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป ไว้หลายแห่งในภาคเหนือ รัฐชาน สิบสองปันนา และประเทศลาว
ครูบาบุญชุ่ม ญาณสัวโร สร้างศาสนสถานจำนวนมาก
พระวิหารวัดบ้านด้ายและกุฏิสงฆ์ 1 หลัง
พระธาตุดอยเวียงแก้ว ตำบลศรีดอนมูล
พระธาตุงำเมืองท้าววังนั่ง ตำบลเมืองพง พม่า
พระธาตุดอยดอกคำ ตำบลเมืองพง พม่า
พระธาตุจอมยอง เมืองยอง พม่า
ศาลาและแท่นแก้วพระธาตุจอมพง พม่า
พระธาตุจอมศรีดับเภมุง เมืองพง พม่า
พระธาตุวัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ศาลาเก้าห้องและกุฏิสงฆ์ วัดพระนอน วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุง พม่า
วิหารพระเจ้านอน เมืองพง พม่า และสร้างแท่นแก้ววัดแม่คำบัว แท่นแก้ว พระเจ้านอนวัดพระธาตุ จอมศรีดับเภมุงเมือง บ้านทุง พม่า
พระวิหารพระธาตุดอนเรือง พม่า และสร้างแท่นแก้ว วัดปากว๋าว ตำบลห้วยไคร้